วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

บทที่ 19 ฟิสิกส์อะตอม

บทที่  19 ฟิสิกส์อะตอม

19.1  อะตอม
         แนวความคิดเกี่ยวกับโครงสร้างของสสารในสมัยกรีกโบราณ
ดิโมคริตุส (ประมาณ พ.ศ. 83 – 173) นักปราชญ์ ชาวกรีก เสนอแนวคิดกับเรื่องโครงสร้างสสารว่าโลกประกอบด้วยสสารและที่ว่าง สสารประกอบด้วยอะตอมซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด และแบ่งแยกต่อไปอีกไม่ได้ สสารแต่ละชนิดประกอบด้วยอะตอมที่มีเนื้อเหมือนกัน แต่มีขนาด รูปร่าง และการจัดเรียงตัวต่างกันจึงทำให้เกิดสสารต่างชนิดกัน การเปลี่ยนแปลงของสสารเกิดจาการเปลี่ยนแปลงลักษณะการจัดเรียงตัวของอะตอม
อาริโตเติล  (ประมาณ  พ.ศ.  159 – 221)  ยอมรับแนวคิดของเอมเพโดคลีส เขาได้อธิบายโครงสร้างของสสารว่า  สสารทุกชนิดมีเนื้อต่อเนื่อง ไม่มีช่องว่าง ไม่มีเนื้อสสารและสามารถแบ่งออกเป็นชิ้นเล็กๆ  เท่าใดก็ได้ ไม่จำกัด นั่นคือ ไม่มีอะตอม เขาเชื่อว่าสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก ประกอบด้วยสารมูลฐาน 4  อย่าง  คือ  ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ  สสารชนิดเดียวกันจะประกอบด้วยองค์ประกอบมูลฐานเหมือนกัน การเปลี่ยนแปลงของสสารเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบมูลฐาน
                          ทฤษฎีอะตอมของดอลตัน  อธิบายว่า  สสารประกอบด้วยอะตอมซึ่งเป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดและแบ่งแยกอีกต่อไปไม่ได้  ธาตุเดียวกันประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกัน  ธาตุต่างชนิดกันประกอบด้วยอะตอมที่ต่างกัน  อะตอมของธาตุแต่ละชนิดจะมีรูปร่างและน้ำหนักเฉพาะตัว  อะตอมชนิดหนึ่งจะเปลี่ยนไปเป็นอะตอมชนิดอื่นไม่ได้  อะตอมของธาตุหนึ่งๆ อาจรวมกับอะตอมธาตุอื่นได้ในสัดส่วนคงตัว
19.2  การค้นพบอิเล็กตรอน
  เซอร์  วิลเลียม  ครูกส์ (Sir  Williams Crookes)  นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ  (ในช่วงปี  พ.ศ. 2375 – 2462) ทำการทดลองการนำกระแสไฟฟ้าในหลอดแก้วสุญญากาศที่โค้งงอเป็นมุมฉากพบว่าเกิดสารเรืองแสงสีเขียวที่ผนังหลอดด้านในตรงข้ามกับขั้วแคโทดซึ่งเป็นขั้วไฟฟ้าลบแสดงว่าเกิดรังสีออกมาจากขั้วแคโทด  จึงเรียกว่ารังสีแคโทด (Cathode  Ray



            รูป 19.1 วงจรไฟฟ้าหลอดรังสีแคโทด     รูป 19.2 วงจรไฟฟ้าแบบครูกส์
ในเวลาต่อมาได้ศึกษาถึงธรรมชาติของรังสีแคโทด  
โดยใช้แผ่นโลหะบาง ๆ กั้นรังสีแคโทด ทำให้เกิดเงาของ
แผ่นโลหะบนผนังหลอดดังรูป 19.3 พบว่าปกติรังสีแคโทด
เคลื่อนเป็นเส้นตรง แต่จะเบี่ยงเบนทิศทางสนามไฟฟ้าและ
สนามแม่เหล็ก รูป 19.3 แสดงเงาที่เกิดจากรังสีแคโทด

19.2.1  การค้นพบอิเล็กตรอนโดยการทดลองของทอมสัน
เจ  เจ  ทอมสัน (J.J. Thomson) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.  2440 ใช้หลอดรังสีแคโทดหาอัตราส่วนประจุต่อมวล (q/m) ของอนุภาคได้เท่ากับ 1.76 X 10 11 คูลอมบ์ต่อกิโลกรัม ซึ่งการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่า รังสีแคโทดประกอบด้วยอนุภาคที่มีมวลและอิเล็กตรอน คือ ส่วนประกอบที่สำคัญของอะตอม
             สรุปผลการทดลองของ Thomson
              1.  ทอมสันได้ทำการทดลองโดยจัดขนาดและทิศทางของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กให้เท่ากัน จนกระทั่งรังสีแคโทดวิ่งเป็นเส้นตรง  ดังรูป 19.4 
      FE      =     FB    
      qE     =     qvB
pastedGraphic.png
             2.  ทอมสันตัดสนามไฟฟ้าออกเหลือแต่สนามแม่เหล็กปรากฏว่ารังสีแคโทดวิ่งเป็นเส้นโค้งรัศมี  R
 ดังรูป 19.5  
    FB      =     FC    
qvB       =   pastedGraphic_1.png
pastedGraphic_2.png
                         ถ้ามีการเร่งประจุด้วยความต่างศักย์   หาประจุต่อมวลจาก
        Ek   =   EP
                                              pastedGraphic_3.pngmv2   =    qV
pastedGraphic_4.png

19.2.2  การหาประจุไฟฟ้าของอิเล็กตรอนโดยการทดลองของมิลลิแกน
            โรเบิร์ต  เอ  มิลลิแกน  ทำการทดลองและหาประจุไฟฟ้าของอิเล็กตรอนได้สำเร็จ  โดยการวัดปริมาณ
 ประจุไฟฟ้าบนหยดน้ำมันดังนี้



รูป 19.6 เครื่องมือทดลองของมิลลิแกน

สรุปสาระสำคัญของการทดลองของมิลลิแกน
1.  มิลลิแกนใช้กระบอกฉีดน้ำมัน  โดยที่ปากกระบอกมีรูเล็ก  หยดน้ำมันเล็ก ๆ ที่ถูกฉีดออกมา  พบว่า
มีประจุไฟฟ้า  เพราะว่าเกิดการเสียดสีกับปากกระบอกฉีด  หรือเสียดสีกับอากาศขณะเคลื่อนที่  บางหยดมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเพราะเสียอิเล็กตรอนไป  บางหยดมีประจุไฟฟ้าเป็นลบเพราะได้รับอิเล็กตรอนเพิ่มเข้ามา
  2.  จากการทดลองถ้าจัดความต่างศักย์ไฟฟ้าให้เหมาะสมจะมีหยดน้ำมันบางหยดลอยนิ่งอยู่กับที่แสดงว่าแรงเนื่องจากสนามไฟฟ้าเท่ากับแรงโน้มถ่วงของโลก
FE   =   mg
qE   =   mg
เมื่อ   q    คือปริมาณประจุไฟฟ้าบนหยดน้ำมัน ( C ) E   คือขนาดของสนามไฟฟ้า ( V/m )
                        g   คือความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก ( m/s2 ) m   คือมวลของหยดน้ำมัน ( kg )
จากการทดลองหยดน้ำมันของมิลลิแกนพบว่าปริมาณประจุที่วัดได้บนหยดน้ำมันเป็นจำนวนเท่าของค่าคงที่คือ  1.6 X 10 -19 เสมอ จากการทดลองมิลลิแกนสรุปว่าบนหยดน้ำมันแต่ละหยดที่มีประจุไฟฟ้าลบนั้นได้รับอิเล็กตรอนเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของ  1.6 X 10 -19 คูลอมบ์  เช่น ประจุ 2 ตัว มีประจุเท่ากับ  3.2 X 10 -19 คูลอมบ์   โดยประจุไฟฟ้าของอิเล็กตรอนหนึ่งตัวมีค่าเท่ากับ 1.6 X 10 -19  คูลอมบ์  และนิยมใช้สัญลักษณ์ ( e )  แทนประจุไฟฟ้าของอิเล็กตรอน


19.3   แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
            ในปี พ.ศ. 2447  ทอมสัน เสนอว่า อะตอมมีรูปร่างเหมือนทรงกลม มีประจุบวกกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วอะตอม โดยอิเล็กตรอน(ประจุลบ)คละอยู่ด้วย และมีจำนวนเท่ากับประจุบวก  อะตอมเป็นกลางทางไฟฟ้าอะตอมแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าเพราะอิเล็กตรอนสั่นแบบซิมเปิลฮาร์มอนิก
ข้อสังเกต  ที่แบบจำลองอะตอมของทอมสันตอบไม่ได้  คือ
   1.  ทำไมประจุบวกรวมกันเป็นเนื้ออะตอมได้ทั้งที่ประจุบวกต้องออกแรงผลักกัน
                 2.  ถ้าอิเล็กตรอนสั่นแบบซิมเปิลฮาร์มอนิกจะให้สเปกตรัมแบบต่อเนื่องแต่จากการทดลอง  พบว่า อะตอมให้สเปกตรัมแบบเส้น






รูป 19.7  แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
19.4   แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
รัทเทอร์ฟอร์ด  ทำการทดลองยิงรังสีแอลฟา  ให้ทะลุผ่านแผ่นทองคำเปลว  แล้ววัดการกระเจิงของรังสีแอลฟา  พบว่าอนุภาครังสีแอลฟาเกือบทั้งหมดทะลุผ่านแผ่นทองคำเปลว  โดยมีการเบี่ยงเบนน้อยมากมีอนุภาคส่วนน้อยที่เบนไปและเบนไปเป็นมุมได้ถึงขนาด  90  องศาหรือมากกว่า 90  องศา   

 





รูป  19.8  เครื่องมือที่ไกเกอร์และมาร์สเดนใช้ตรวจสอบแนวคิดของรัทเทอร์ฟอร์ด
สรุปแบบจำลองรัทเทอร์ฟอร์ด  
1.  อะตอมเป็นกลางทางไฟฟ้าโดยที่มีประจุบวกอัดแน่นอยู่ตรงกลางเรียกว่านิวเคลียส  และมีประจุลบคืออิเล็กตรอนวิ่งอยู่รอบ ๆ นิวเคลียสและห่างจากนิวเคลียสมาก
2.  รัทเทอร์ฟอร์ดคำนวณพบว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของนิวเคลียสมีค่าประมาณ 10-15– 10-14  เมตร  แต่อะตอม
มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  10-10  เมตร  แสดงว่าอะตอมมีขนาดใหญ่กว่านิวเคลียสมาก
3.  รัทเทอร์ฟอร์ดทดลองยิงอนุภาคแอลฟาเข้าไปตรง ๆ  กับนิวเคลียสของทองคำพบว่าเกิดการสะท้อน
กลับเป็นเส้นตรงแสดงว่าพลังงานจลน์เท่ากับพลังงานศักย์ไฟฟ้า
EK    =    EP           
                                                                             pastedGraphic_5.png  =   pastedGraphic_6.png
ปัญหาที่เกิดกับแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
1.  เหตุใดอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสได้โดยไม่สูญเสียพลังงาน
2.  เหตุใดประจุไฟฟ้าบวกหลายประจุจึงรวมกันอยู่ภายในนิวเคลียสได้ทั้งที่มีแรงผลักระหว่างประจุ
19.5   การทดลองด้านสเปกตรัม
          19.5.1 สเปกตรัมจากอะตอมของแก๊ส
        เมื่อเราใช้เกรตติ้งส่องดูแก๊สร้อนในหลอดบรรจุแก๊สชนิดต่างๆ เราจะพบเห็นว่าสเปกตรัมของแก๊สร้อนชนิดต่างๆ มีลักษณะเป็นเส้นๆ  ไม่ต่อเนื่องกันแต่เส้นสว่างจะมีความยาวคลื่นเรียงกันเป็นกลุ่มอย่างมีระเบียบ  เรียกว่า  อนุกรม  ( Series ) ดังรูป






รูป  19.9 ลักษณะสเปกตรัมของแก๊สร้อน

ความยาวคลื่นของสเปกตรัมของแก๊สไฮโดรเจนร้อนมี  5  อนุกรม  โดยมีชื่อเรียกตามนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบสเปกตรัมแต่ละเส้นในอนุกรมนั้น  และสามารถคำนวณหาค่าความยาวคลื่นของสเปกตรัมแต่ละเส้นในอนุกรมต่างๆ  ได้โดยใช้สมการ
pastedGraphic_7.png
เมื่อ pastedGraphic_8.png   คือความยาวคลื่นของสเปกตรัม (m)
RH   คือค่านิจของริดเบอร์ก   =   1.1 x 107  m-1
nf     คือตัวเลขจำนวนเต็มที่เท่ากับ  2
ni     คือตัวเลขจำนวนเต็มเริ่มตั้งแต่  3, 4, 5,....

ตารางที่  19.1  แสดงอนุกรมของสเปกตรัมชุดต่างๆ  ของไฮโดรเจน
pastedGraphic_9.png

     จากสมการของบัลเมอร์ เมื่อเราแทนค่า nf     =   2
ni     =   3   จะได้   λ   =    6,562.8   0A   เป็นความยาวคลื่นของแสงสีแดง
ni     =   4   จะได้   λ   =    4,861.3   0A   เป็นความยาวคลื่นของแสงสีน้ำเงิน
ni     =   5   จะได้   λ   =    4,340.5   0A   เป็นความยาวคลื่นของแสงสีม่วง
ni     =   6   จะได้   λ   =    4,101.7   0A   เป็นความยาวคลื่นของแสงสีเหนือม่วง




รูป  19.10  สเปกตรัมเส้นสว่างในอนุกรมบัลเมอร์ของอะตอมไฮโดรเจน
19.5.2   การแผ่รังสีของวัตถุดำ
วัตถุทุกชนิดไม่ว่าจะร้อนหรือเย็นจะมีการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา โดยทั่วไปเราเข้าใจว่าวัตถุร้อนเท่านั้นที่จะแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา เพราะเรามักจะพบคลื่นแสงแผ่ออกมาจากวัตถุที่ร้อน  เช่น  แสงจากดวงอาทิตย์   แสงจากการเผาถ่านไม้  หรือแสงจากไส้หลอดทังสเตน  เป็นต้น แต่ความเป็นจริงแล้ววัตถุที่เย็นก็มีการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเช่นกัน เพียงแต่ความถี่ของคลื่นอยู่ในช่วงของแสงน้อยมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ในย่านความถี่ของคลื่นอินฟราเรด หากเรายืนอยู่ในห้องมืดร่างกายเรามีอุณหภูมิประมาณ 310 เคลวิน จะแผ่รังสีของแสงมาน้อยไม่สามารถทำให้ห้องสว่างได้เพราะคลื่นที่แผ่ออกมาโดยส่วนใหญ่อยู่ในย่านอินฟราเรด เราเรียกวัตถุที่มีการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้ว่าวัตถุดำ (Black  Body )
ปี ค.ศ. 1900 ฟลังก์ได้สร้างภาพจำลองในการแผ่รังสีของวัตถุดำโดยถือว่าวัตถุดำประกอบด้วยอะตอมคู่มากมายและอะตอมทุกคู่จะมีการสั่นด้วยความถี่ธรรมชาติ เช่นเดียวกับการสั่นของมวลผูกปลายสปริง จึงทำให้มีการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอออกมา โดยพลังงานที่แผ่ออกมาจากวัตถุดำแต่ละชนิดจะขึ้นอยู่กับแอมพลิจูดการสั่นของอะตอม จำนวนอะตอมในวัตถุ โดยมีขนาดของพลังงานเป็น   E    =    hf,    2hf,    3hf, . .. .. ซึ่งเราสามารถเขียนเป็นสมการได้
                                           E   =   n(hf)                  
                                  n    คือเป็นตัวเลขจำนวนเต็มบวก  โดย     n    =  1,2, 3, . . . .
                                  f     คือความถี่ธรรมชาติการสั่นของอะตอมคู่ ( Hz )
                                  h     คือค่านิจของแพลงค์ ( h =  6.63pastedGraphic_10.png10-34   J.s )
ดังนั้น ปริมาณ  hf  จึงหมายถึง  1 ก้อนพลังงานแสง ซึ่งเรียกว่า 1 ควอนตัม หรือ 1 โฟตอน  (1 เม็ดแสง)อิเล็กตรอนโวลต์  (eV)  เป็นหน่วยวัดพลังงานสำหรับอนุภาคขนาดเล็ก โดย 1 eV   =  1.6 pastedGraphic_10.png 10 -19 จูล 
   พลังงาน  1 eV. จะเป็นพลังงานที่ได้จากการเร่งอิเล็กตรอนผ่านความต่างศักย์ 1 โวลต์   
(เร่งอิเล็กตรอนผ่านความต่างศักย์  V  โวลต์  จะทำให้อิเล็กตรอนมีพลังงานเป็น V  อิเล็กตรอนโวลต์)


19.6  ทฤษฎีอะตอมของโบร์
           ก.  อิเล็กตรอนมีวงโคจรรอบนิวเคลียสเป็นชั้นๆ โดยในแต่ละวงโคจรจะมี
               โมเมนตัมเชิงมุม ;                                               เมื่อ                         

         ข.  เมื่ออิเล็กตรอนเปลี่ยนวงโคจรจะคายหรือดูดพลังงาน เป็น 1 ควอนตัม


เมื่อ  pastedGraphic_11.png  คือ พลังงานของอิเล็กตรอนในวงโคจรก่อนเปลี่ยนแปลง
        pastedGraphic_12.png  คือ พลังงานของอิเล็กตรอนในวงโคจรหลังเปลี่ยนแปลง
        pastedGraphic_13.pngE    คือ  พลังงานที่อิเล็กตรอนได้รับ (pastedGraphic_13.pngE  เป็นลบ  เปลี่ยนวงโคจรจากวงในไปวงนอก)
                          พลังงานที่อิเล็กตรอนปล่อยออกมา (pastedGraphic_13.pngE  เป็นบวก  เปลี่ยนวงโคจรจากวงนอกไปวงใน)  
               จากทฤษฎีของโบร์ทำให้แสดงได้ว่า อะตอมไฮโดรเจน จะมี
              1.  รัศมีอะตอม;


             2.  อัตราเร็วของอิเล็กตรอน ;


             3.  พลังงานของอะตอม ;


ระดับพลังงาน  - 13.6  eV  เป็นระดับพลังงานของอิเล็กตรอนอะตอมไฮโดรเจนวงในสุด  เรียกว่า  สถานะพื้น (ground  state)  ถ้าอิเล็กตรอนอยู่ในระดับพลังงานสูงกว่าสถานะพื้นหรือในวงโคจรที่  n pastedGraphic_14.png 2  เรียกสภาวะนี้ว่า สถานะกระตุ้น (excited  state)  
สถานะพื้น (ground  state) คือ สถานะปกติของออะตอมซึ่งจะมีพลังงานระดับต่ำสุดค่าหนึ่ง  โดยปกติอิเล็กตรอนจะอยู่ในระดับพลังงานต่ำสุดค่านี้จนกว่าจะได้รับพลังงานจากภายนอกมากพอจึงจะขึ้นไปอยู่ในระดับพลังงานที่สูงกว่า
สถานะกระตุ้น (excited  state)  คือสภาพของอะตอมที่มีอิเล็กตรอนอยู่ในระดับพลังงานสูงกว่าสถานะพื้น

อะตอมปกติอิเล็กตรอนจะมีพลังงานอยู่ใน สถานะพื้น (ground  state)  เมื่ออิเล็กตรอนได้รับพลังงานจากภายนอกที่เหมาะสมจะขึ้นไปอยู่บนวงโคจรใหม่ตามระดับขั้นของพลังงาน เรียกว่า  สถานะกระตุ้น (excited  state)  ทันที  (อิเล็กตรอนจะปฏิเสธการรับพลังงานที่มีปริมาณน้อยหรือเกินกว่าความเหมาะสมของขั้นพลังงาน)  อิเล็กตรอนจะอยู่ในสถานะกระตุ้นไม่ได้และจะกระโดดกลับลงมาที่สถานะพื้น  โดยปล่อยควอนตัมของพลังงานออกมาที่มีความถี่และความยาวคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ  กัน  
 สเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจน จะเกิดจากการเปลี่ยนวงโคจรของอิเล็กตรอน   คำนวณได้จากความ สัมพันธ์จากสูตร

  หรือใช้สูตร  Δ E  (หน่วยเป็น eV.)  กับ  λ   (หน่วยเป็นนาโนเมตร)  จากสูตร



19.7  การทดลองของฟรังก์และเฮิรตซ์
          1. ฟรังก์และเฮิร์ตซ์ได้ทำการทดลองเรื่องการชนกันของอะตอมต่างๆ โดยใช้ประจุอิเล็กตรอนกับอะตอมของปรอท
          2. เมื่ออิเล็กตรอนชนกับอะตอมของปรอทจะทำให้เกิดการถ่ายเทพลังงานจากอิเล็กตรอนไปยังอะตอม และพลังงานที่อะตอมได้รับจะถ่ายทอดต่อไปยังอิเล็กตรอนในอะตอมอีกต่อหนึ่ง ถ้าพลังงานมากพอที่จะทำให้ เกิดอิเล็กตรอนหลุดออกมาเป็นอิสระแสดงว่าเกิดการ  Ionization
          3. จากการทดลองของฟรังก์และเฮิรตซ์  พบว่า
3.1  ถ้าพลังงานจลน์ที่อิเล็กตรอนต่ำกว่า  4.9  eV  (ความต่างศักย์ที่ใช้เร่งอิเล็กตรอนต่ำกว่า 4.9  eV ) การชนระหว่างอิเล็กตรอนและอะตอมของปรอทจะเป็นการชนแบบยืดหยุ่น (elastic  collision) คือ Ekก่อนชน เท่ากับ Ek  หลังชนนั่นแสดงว่า อิเล็กตรอนไม่สามารถทำให้อะตอมของปรอดเปลี่ยนระดับพลังงานจากGround  State  ได้ เพราะอะตอมของปรอทไม่สามารถดูดกลืนพลังงานจลน์ที่ต่ำกว่า 4.9  eV ได้
3.2  เมื่อเพิ่มพลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนเป็น  4.9  eV ทำให้อะตอมของปรอทเปลี่ยนระดับพลังงานจาก  Ground  State  (E1) ไปยัง  Excited  State (E2)  ครั้งแรกสุดของการกระตุ้นได้
3.3  ถ้าเพิ่มพลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนขึ้นไปอีก ก็จะกระตุ้นอะตอมของปรอทอะตอมที่สอง และอะตอมที่สามได้อีกเรื่อยๆ แต่ทุกอะตอมของปรอทยังคงต้องการพลังงานจลน์  4.9 eV  เหมือนเดิม
3.4 ถ้าอะตอมของปรอทที่ถูกกระตุ้นไปอยู่ในระดับพลังงาน Eและจะเปลี่ยนระดับพลังงานเข้าสู่ระดับพลังงาน Ground  State  (E1) จะต้องปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  ซึ่งเรียกว่า Photon  มีพลังงานเท่ากับ  4.9 eV
3.5 ฟรังก์และเฮิร์ตซ์  สรุปการทดลองว่า ในการชนระหว่างอิเล็กตรอนกับอะตอมจะดูดกลืนพลังงานได้เพียงบางจำนวนเท่านั้นซึ่งชี้ให้เห็นว่าระดับพลังงานของอะตอมไม่ต่อเนื่อง กันเป็นไปตามทฤษฎีของโบร์  คือ 4.9 , 6.7 , และ  10.4  eV   



ดังรูป 19.11






รูป  19.11  การรับพลังงานของอะตอมของปรอท

19.8   รังสีเอ็กซ์ (X – ray)
           เรินต์เกน (Wilhelm Konrad Roentgen ) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ได้พบรังสีเอกซ์  โดยบังเอิญ  ในปี พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895 ) ในขณะที่กำลังทดลองเกี่ยวกับรังสีแคโทด เรินท์เกน คลุมหลอดทดลองด้วยกระดาษดำในห้องทดลองที่มืด   ขณะที่ประจุเคลื่อนที่ในหลอด    เขาสังเกตเห็นแสงเรืองขึ้นบริเวณโต๊ะที่ทำการทดลอง  แสดงว่าจะต้องมีรังสีบางชนิดที่มองไม่เห็นและสามารถทะลุออกมาจากหลอดแคโทด   ซึ่งแสดงว่ามีอำนาจทะลุทะลวงสูง   รังสีนี้เขาตั้งชื่อว่า   X – ray    
          คุณสมบัติของรังสีเอกซ์
              1.  ไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า
              2.  เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก
              3.  มีอำนาจทะลุทะลวงสูง
              4.  ทำให้ก๊าซแตกตัวเป็นไอออนได้
              5.  ทำให้สารเรืองแสงเกิดสารเรืองแสงได้
              6.  ทำปฏิกิริยากับแผ่นฟิล์ม
              7.  รังสีเอกซ์มีอันตรายและทำลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้
              8.  เมื่อรังสีเอกซ์  กระทบบนแผ่นโลหะสามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริกได้
การเกิดรังสีเอกซ์
                การเกิดรังสีเอกซ์เกิดจากอิเล็กตรอนวิ่งเข้าชนอะตอมของเป้าทังสเตนแล้วหยุด จะปลดปล่อยรังสีเอกซ์ที่มีพลังงานสูงสุด   หรือเมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ช้าลงจะปลดปล่อยพลังงานค่าต่างๆ เมื่ออิเล็กตรอนวิ่งชนอะตอมของเป้าแล้วหยุด  พลังจลน์ทั้งหมดของอิเล็กตรอนจะเปลี่ยนเป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปของรังสีเอกซ์  ดังนั้น



       Ekmax    =    eV    =    hfmax

            eV  = pastedGraphic_15.png

         pastedGraphic_8.pngmin   pastedGraphic_16.png            หรือ   pastedGraphic_8.pngmin   =   pastedGraphic_17.png  pastedGraphic_18.png

เมื่อ    pastedGraphic_8.pngmin   =   ความยาวคลื่นของรังสีเอกซ์ (m)
h     =    ค่าคงตังของแพลงค์       =    6.6 pastedGraphic_19.png 10-34    J/s
e     =     ประจุของอิเล็กตรอน     =   1.6 pastedGraphic_19.png 10-19    C
V    =     ความต่างศักย์ที่ใช้เร่งประจุ  (V)
c     =     ความเร็วแสง    =   3.0 pastedGraphic_19.png 108    m/s
19.9    ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก (Photoelectric  effect)
           ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก คือ ปรากฏการณ์ที่ฉายแสงที่มีความถี่สูงตกกระทบผิวโลหะแล้วทำให้เกิดประจุไฟฟ้าลบ(อิเล็กตรอน)  หลุดออกมาจากโลหะได้  อิเล็กตรอนที่หลุดออกมาเรียกว่า โฟโตอิเล็กตรอน
           ผลการศึกษาปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก  สรุปได้ดังนี้
           1. โฟโตอิเล็กตรอนจะเกิดขึ้น  เมื่อแสงที่ตกกระทบโลหะมีความถี่ไม่น้อยกว่าค่าความถี่คงตัวค่าหนึ่งเรียกว่า  ค่าความถี่ขีดเริ่ม ( f0 )  
           2.  จำนวนโฟโตอิเล็กตรอนจะเพิ่มขึ้น  เมื่อแสงที่ใช้มีความเข้มแสงมากขึ้น
           3.  พลังงานจลน์สูงสุด Ek(max)  ของอิเล็กตรอนไม่ขึ้นกับความเข้มแสง  แต่ขึ้นกับค่าความถี่แสง
           4.  พลังงานจลน์สูงสุดมีค่าเท่ากับความต่างศักย์หยุดยั้ง
           แสงมีสมบัติเป็นก้อนพลังงาน ( photon )  เมื่อกระทบกับผิวโลหะจะถ่ายโอนพลังงานให้กับอิเล็กตรอนของโลหะทั้งหมด hf  พลังงานส่วนหนึ่ง ( hf0 )  ทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากผิวโลหะได้  ซึ่งเท่ากับพลังงานยึดเหนี่ยวอิเล็กตรอนของโลหะ  เรียกว่า ( work  function ) ใช้สัญลักษณ์  ( W )  และพลังงานที่เหลือเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนซึ่งเท่ากับพลังงานที่ใช้หยุดยั้งอิเล็กตรอนนั้น ( eVs )  ตามสูตร




pastedGraphic_20.png

              โดยพลังงานของอิเล็กตรอนจะอยู่ในรูป    E = pastedGraphic_21.png   หรืออาจวัดของความต่างศักย์หยุดยั้ง ( VS คือความต่างศักย์ที่ใช้หยุดอิเล็กตรอนได้พอดี )  ซึ่งจะได้ว่า   E  =  eVS  (จูล)   =   VS  (eV.)
            สมการของพลังงานโฟโตอิเล็กตรอนจึงเขียนได้เป็น
pastedGraphic_22.png
กราฟระหว่าง  VS  กับ f จากสมการ  VS   =  pastedGraphic_23.pngpastedGraphic_24.png
         จะได้ ความชันกราฟ =  pastedGraphic_25.png
         จุดตัดแกนนอน =  f0  (ความถี่ขีดเริ่ม)
         จุดตัดแกนตั้ง    =  pastedGraphic_24.png
                                     หมายเหตุ  กรณีต้องการหาจำนวนของโฟตอนจะหาได้จาก
                                          

19.10  ความไม่สมบูรณ์ของทฤษฎีอะตอมของโบว์
            1.  ทฤษฎีอะตอมของโบว์สามารถอธิบายถึงการจัดเรียงอิเล็กตรอนและสเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจนได้  แต่ไม่สามารถอธิบายการจัดเรียงอิเล็กตรอนและสเปกตรัมของอะตอมอื่นๆ ได้
            2.   ทฤษฎีอะตอมของโบว์ไม่สามารถอธิบายได้ว่าอิเล็กตรอนที่โคจรรอบนิวเคลียสด้วยความเร่ง  เพราะสาเหตุใดไม่แผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา
            3.   ทฤษฎีอะตอมของโบว์ไม่สามารถอธิบายได้ว่า  เพราะสาเหตุใดอะตอมที่อยู่ในสนามแม่เหล็กเส้นสเปกตรัมเส้นหนึ่งๆ  แยกออกเป็นหลายเส้นได้ดังรูป






รูป  19.12 สเปกตรัมเส้นเมื่ออะตอมอยู่ในสนามแม่เหล็ก
19.11    ทวิภาพของคลื่นและอนุภาค  (Ware-Particle dualify)
1.  เราทราบว่าแสงแสดงคุณสมบัติเป็นคลื่นเพราะ แสดงการเลี้ยวเบนและการแทรกสอด 
2.  จากปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กทริก ไอน์สไตน์คิดว่า โฟตอนเป็นอนุภาค
3.  มิลลิแกนทดลองและสรุปว่า แสงเป็นอนุภาค
4.  เดอ บรอยล์ (de  Broglie) ให้แนวคิดว่า “ถ้าแสงแสดงคุณสมบัติคู่เป็นได้ทั้งอนุภาคและคลื่นแล้ว  สสารทั้งหลายแสดงคุณสมบัติของคลื่นได้เนื่องจากสสารประกอบด้วยอนุภาค”

19.11.1  ปรากฏการณ์คอมป์ตัน
  คอมป์ตัน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มของรังสีเอกซ์และขนาดของมุมการกระเจิงกับความยาวคลื่นกระเจิงของรังสีเอกซ์  จากการฉายรังสีเอกซ์ให้ไปกระทบกับอิเล็กตรอนของแท่งแกรไฟต์  พบว่า  ความยาวคลื่นรังสีเอ็กซ์ที่กระเจิงออกมาแปรผันกับมุมที่กระเจิง  แต่ไม่ขึ้นกับความเข้มของรังสีเอกซ์ที่กระทบกับอิเล็กตรอน




                                                            รูป  19.13 ปรากฏการณ์คอมป์ตัน
              จากปรากฏการณ์อธิบายโดยอาศัยหลักแนวคิดของไอน์สไตน์ได้อย่างเดียวว่าการชนระหว่างรังสีเอกซ์กับอิเล็กตรอนของแกรไฟต์เป็นการชนระหว่างอนุภาคกับอนุภาค  โดยเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์พลังงานและกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม ดังนี้
1.  รังสีเอกซ์ที่กระเจิงออกมาโดยมีความยาวคลื่นเท่าเดิม  แสดงว่าโฟตอนของรังสีเอกซ์กับอิเล็กตรอนของแท่งแกรไฟต์ชนกันแบบยืดหยุ่น
2.  รังสีเอกซ์ที่กระเจิงออกมาโดยมีความยาวคลื่นไม่เท่าเดิม  แสดงว่า โฟตอนของรังสีเอกซ์กับอิเล็กตรอนของแท่งแกรไฟต์ชนกันแบบไม่ยืดหยุ่น
19.11.2  สมมติฐานของเดอ  บรอยล์
                ในปี ค. ศ. 1924  นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสชื่อหลุยส์ เดอบรอยล์  (Louis  de  Broglie ) ได้ให้ความเห็นว่าแสงมีคุณสมบัติเป็นได้ทั้งคลื่นแสงและอนุภาค กล่าวคือในกรณีที่แสงมีการเลี้ยวเบนและการสอดแทรก แสดงว่าขณะนั้นแสงประพฤติตัวเป็นคลื่น  สำหรับกรณีแสงในปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก แสดงว่าแสงเป็นอนุภาค  ฉะนั้นสสารทั่วไปที่มีคุณสมบัติเป็นอนุภาคก็น่าจะมีคุณสมบัติทางด้านคลื่นด้วย เดอบรอยล์ได้พยายามหาความยาวคลื่นของคลื่นมวลสาร โดยทั่วไปเริ่มจากความยาวคลื่นของแสงก่อน ดังต่อไปนี้
              ถ้าแสงมีความถี่  f  จะให้พลังงานออกมาเป็นอนุภาคเรียกว่าโฟตอนซึ่งมีขนาด
                                         E   =   hf  =  pastedGraphic_26.png
             จากความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับมวลของไอน์สไตน์
E   =   mc2  และ  E  =  hf
เดอบรอยล์  หาความสัมพันธ์ระหว่างโมเมนตัมและความยาวคลื่นของแสงได้ดังนี้
 pastedGraphic_27.png
เมื่อ    P   คือ  โมเมนตัมของโฟตอน (N.s) pastedGraphic_8.png   คือ  ความยาวคลื่นของโฟตอน (m)
pastedGraphic_28.png

เมื่อ    pastedGraphic_8.png  คือ  ความยาวคลื่นของอนุภาค (m) m  คือ  มวลของอนุภาค (kg)
          P   คือ  โมเมนตัมของอนุภาค (N.s) v  คือ  ความเร็วของอนุภาค (m/s)
ความยาวคลื่นของอนุภาคหรือความยาวคลื่นสสารนี้  เรียกว่า  ความยาวคลื่น  เดอ  บรอยล์ นั่นเอง

19.12    กลศาสตร์ควอนตัม (Quantum  Mechanics)
1. Quantum  Mechanics  เป็นวิชาสำหรับอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆในระดับอนุภาคที่มีขนาดเล็ก ๆ เท่ากับอะตอม เช่น  การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน เพราะกฏของนิวตันไม่สามารถให้รายละเอียดได้
2. Quantum  Mechanics  เป็นศาสตร์ของ Matter  Waves  ที่ให้หลักสมบูรณ์ในการศึกษาเรื่องอะตอมในปัจจุบัน
3. Quantum  Mechanics  จะกล่าวถึงโอกาสที่จะเป็นไปได้  ในการที่จะบอกว่า อิเล็กตรอนอยู่ที่ไหน  หรือจะพบได้ที่ไหน ที่บริเวณหนึ่ง ๆ
4. ในการคิดค้นกลศาสตร์ควอนตัม โซรดิงเจอร์ (Evwin  Schrodinger)  นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย  ได้คิดสมการของคลื่น โดยอาศัยหลักการของ  de  Broglie  โดยใช้เทอมความยาวช่วงคลื่นของ (pastedGraphic_29.png =pastedGraphic_30.png) ซึ่งสมการนี้เรียกว่า  Schrodinger  Equation  สมการของโซรดิงเจอร์  มีความสำคัญในการอธิบายการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในอะตอม  โมเลกุลและในผลึก ได้อย่างถูกต้องและสามารถพิสูจน์ได้ว่าระดับพลังงานของอิเล็กตรอนในอะตอม ไม่ต่อเนื่องกัน

19.12.1   หลักความไม่แน่นอนและโอกาสที่จะเป็นไปได้ (Uncertainty  Principle)
1. ในการพิจารณาอิเล็กตรอน ตามหลักทวิภาพของคลื่นและอนุภาคพบว่า  ถ้าอิเล็กตรอนเป็นอนุภาค เราคิดถึงอนุภาคในลักษณะที่มีขนาดแน่นอนและขนาดเล็กมาก ถ้าคิดว่าอิเล็กตรอนเป็นคลื่น  ขนาดและตำแหน่งของคลื่นย่อมกระจายอยู่ในอาณาเขตอันหนึ่ง แต่ไม่สามารถบอกได้ชัดว่าอยู่ที่ใด
2. ในการศึกษา Quantum  Mechanics ไฮเซนเบอร์กได้ตั้งหลัก ความไม่แน่นอน  กล่าวคือ  ตำแหน่งและโมเมนตัมของอนุภาคไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าอนุภาคอยู่ ณ  ที่ใดที่หนึ่ง และมีค่าโมเมนตัมที่แน่นอนเท่าใด หลักการนี้ปรากฏว่าใช้ได้ทั้งสสารและโฟตอน กล่าวโดยสรุปหลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบอร์ก  เป็นความไม่แน่นอนทางตำแหน่ง และทางโมเมนตัมของอนุภาค เขียนเป็นสูตรได้
pastedGraphic_31.png
เมื่อ    pastedGraphic_32.png คือ ความไม่แน่นอนในการบอกตำแหน่ง (m)
                                       pastedGraphic_33.png  คือ ความไม่แน่นอนในการบอกโมเมตัม (kg.m/s)
            pastedGraphic_34.png    คือ  pastedGraphic_35.png  =  1.05 x 10 -34   J.s
19.12.2  โครงสร้างอะตอมตามทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม
              ตามหลักความไม่แน่นอน  เราไม่สารมารถระบุได้ว่าอิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสอยู่ในตำแหน่งใดได้แน่นอน  เราบอกได้เพียงแต่โอกาสจะพบอิเล็กตรอน ณ ตำแหน่งต่างๆ ว่าเป็นเท่าใดเท่านั้น  ดังนั้นโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอน  ณ  ตำแหน่งต่างๆ  ว่าเป็นเท่าใดเท่านั้น  ดังนั้นโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสจึงมีลักษณะเป็นกลุ่มหมอกทรงกลมห่อหุ้มนิวเคลียสในระดับชั้นพลังงานต่างๆ  ดังรูป  19.14






รูป  19.14 ภาพแสดงกลุ่มหมอกของอะตอมไฮโดรเจนที่ระดับพลังงานต่าง ๆ
              แนวคิดของกลศาสตร์ควอนตัมที่มีโอกาสจะพบอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสมีลักษณะเป็นกลุ่มหมอก  สามารถอธิบายความไม่สมบูรณ์ของทฤษฎีของโบว์  ถึงการแยกเส้นสเปกตรัมหนึ่งเส้นเป็นหลายเส้น เมื่ออะตอมอยู่ในสนามแม่เหล็กได้
               จะเห็นได้ว่าระดับพลังงานาของอิเล็กตรอนในอะตอมไฮโดรเจนในระดับต่างจะได้จากกลศาสตร์ควอนตัมสอดคล้องกับทฤษฎีของโบว์ แต่อะตอมใหญ่ ๆ  ระดับพลังงานที่ได้จากทฤษฎีทั้งสองต่างกัน  แต่ผลที่ได้จากกลศาสตร์ควอนตัมถูกต้องกว่า
19.13  เลเซอร์(  LASER )
           เลเซอร์  เป็นแสงความเข้มสูงที่มีความถี่เดียวและเฟสเดียวกัน
           หลักการทำงานของเลเซอร์
           1. ให้อะตอมของสารถูกกระตุ้นโดยพลังงานภายนอก  เช่น  แสง  ไฟฟ้า  ให้พลังงานสูงขึ้นไปยังสถานะถูกกระตุ้นที่ไม่เสถียร (3)
           2.  อิเล็กตรอนปลดปล่อยพลังงานทันทีในรูปพลังงานแสงที่ไม่เป็นแสงอาพันธ์  แล้วตกลงมาสู่สถานะถูกกระตุ้น (2)  เรียกว่าสถานะกึ่งเสถียร (meta-stable  state)
           3.  อิเล็กตรอนจากสถานะถูกกระตุ้น (2)  ใช้เวลาพอประมาณ  กลับมาที่สถานะ (1) พร้อมกับปลดปล่อยพลังงานในรูปของแสงอาพันธ์
           กลไกในเครื่องเลเซอร์ประกอบด้วยกระจกพิเศษ  2  บาน (บานหนึ่งสะท้อน  100%   อีกบานหนึ่งสะท้อนไม่ถึง  100%  โดยให้แสงทะลุผ่านได้บ้าง)  ทำการสะท้อนแสงกลับไปมาในเครื่อง  กระตุ้นให้อะตอมอื่นที่อยู่ในสถานะ (2)  ปลดปล่อยแสงอาพันธ์ออกมาเสริมกันในทิศทางเดียวกันที่มีความเข้มสูง
 เรียกว่า  เลเซอร์( LASER )
 





รูป  19.15  สถานะทั้งสามที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเลเซอร์

            คลื่นเลเซอร์ที่เกิดขึ้นจะมีหลายชนิดและหลายแบบ  เช่น คลื่นเลเซอร์จากก๊าซผสมของฮีเลียมกับนิออนคลื่นเลเซอร์จากอิออนของก๊าซอาร์กอน  คลื่นเลเซอร์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  เป็นต้น โดยทั่วไปคลื่นเลเซอร์จะมีกำลังอยู่ในช่วงตั้งแต่ 10-3 - 106  วัตต์  เราจึงใช้คลื่นเลเซอร์เพื่อประโยชน์ในหลายๆด้านด้วยกัน  เช่น ใช้ในด้านดนตรีได้แก่แผ่นเลเซอร์ดิสซ์ ,  ใช้คลื่นเลเซอร์ในการเชื่อมโครงรถยนต์  ใช้แสงเลเซอร์ในการวัดระยะทางในงานสำรวจจะให้ค่าที่มีความแม่นยำสูง  ใช้คลื่นเลเซอร์ในการสื่อสารทางโทรศัพท์ระยะไกลๆ ใช้คลื่นเลเซอร์ในการศึกษาโครงสร้างอะตอมของธาตุต่างๆ   ในการแพทย์ใช้แสงเลเซอร์ในการรักษาโรคกระดูก  ในการอุดฟัน  และในการรักษาตาทำให้คนสายตายาวและสายตาสั้นไม่ต้องใส่แว่น