วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

ข้อสอบ การทดลองของมิลลิแกน และ แบบจำลองรัทเทอร์ฟอร์ด

ข้อสอบ การทดลองของมิลลิแกน และ แบบจำลองรัทเทอร์ฟอร์ด  
  1. ในปัจจุบันใช้ธาตุอะไรเป็นมาตรฐานสำหรับการกำหนดหน่วยทางมวลของอะตอม  
ก.   ออกซิเจน ข.   คาร์บอน ค.   ไฮโดรเจน                    ง.   ยูเรเนียม

  1. องค์ประกอบอันดับแรกของอะตอมที่มนุษย์รู้จักคือข้อใด  
ก.   โปรตอน ข.   นิวตรอน ค.    นิวเคลียส                    ง.    อิเล็กตรอน

3.   ในการทดลองหาค่าประจุต่อมวลของทอมสันโดยใช้สนามแม่เหล็กที่มีความเข้ม   0.002  T  ถ้าความต่างศักย์ระหว่างแผ่นขนานสองแผ่น ห่างกัน  2  cm  มีค่า   80   V  ความเร็วของอิเล็กตรอนขณะเคลื่อนที่ผ่านแผ่นโลหะนี้มีค่าเท่าไร  
  1. 2  X  10 6  m / s     ข.   4  X  10 6  m / s ค.   6 X  10 6  m / s         ง.   8 X  10 6  m / s 

4.   ในการทดลองหาค่าประจุต่อมวลของอิเล็กตรอนโดยใช้หลอดตาแมว ได้จัดค่าความต่างศักย์ระหว่างแคโทดกับแอโนดรูปก้นกระทะเท่ากับ 180 V ถ้ากระแสไฟฟ้าที่ผ่านขดลวดโซลินอยด์ทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก 5 X 10–3 T  และทราบว่าอิเล็กตรอนมีประจุ  - 1.6 X 10 – 19 C และมีมวล 9  X 10– 31 kg   อัตราเร็วของ อิเล็กตรอนขณะวิ่งถึงแอโนดเป็นเท่าไร  
      ก.    2  X  10 6  m / s         ข.   4  X  10 6  m / s            ค.    6 X  10 6  m / s          ง.   8  X  10 m / s

5.  จากโจทย์ข้อที่  4.  ขณะถึงแอโนดอิเล็กตรอนจะวิ่งด้วยรัศมีความโค้งเท่าไร  
      ก.   3  X  10- 3  m            ข.   5  X  10- 3  m              ค.   7  X 10- 3  m               ง.   9  X 10- 3  m        
   
6.  ในการทดลองวัดอัตราส่วนประจุต่อมวลของอิเล็กตรอนโดยวิธีของทอมสัน  โดยครั้งแรกให้รังสีแคโทด
     เกิดการเบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็ก  แต่เมื่อใส่สนามไฟฟ้าเข้าไปเพื่อหักล้างการเบี่ยงเบนของรังสีแคโทด  
     กลับปรากฏว่ารังสีแคโทดกลับเบี่ยงเบนมากยิ่งขึ้นผู้ทำการทดลองควรจะทำอย่างไร
      ก. กลับทิศทางของสนามไฟฟ้า ข.    ลดความเข้มของสนามไฟฟ้า
      ค. เพิ่มความเข้มของสนามไฟฟ้า ง.    ลดความเข้มของสนามแม่เหล็ก

7.  ในการทดลองหลอดตาแมว  พบว่า  ความเร็วของอนุภาครังสีแคโทดมีค่าเท่ากับ  9 X  10 7  m / s  เมื่อนำ
       ขดลวดโซลินอยด์ที่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก  0.1  เทสลา  ครอบลงบนหลอดตาแมว จงหาว่ารังสีแคโทด
       จะวิ่งเป็นเส้นโค้งด้วยรัศมีเท่าไร (กำหนด pastedGraphic.png ของอนุภาครังสีแคโทดเท่ากับ 1.8 X  10 11 C/kg )
  1. 0.05  ซม.       ข.   0.5   ซม. ค.   2.5   ซม. ง.   5.0   ซม.
8.  ในการทดลองตามแบบของมิลลิแกน  พบว่าหยดน้ำมันหยดหนึ่งลอยนิ่งอยู่ได้ระหว่างแผ่นโลหะ ขนาน
      สองแผ่น ซึ่งห่างกัน  0.8  cm  โดยมีความต่างศักย์ระหว่างแผ่นเท่ากับ   12,000  V   ถ้าหยดน้ำมันมีประจุ
       ไฟฟ้า  8 X 10 – 19 C  จะมีน้ำหนักเท่าไร   
ก.   1.2 X 10 – 12 N            ข.   2.2 X 10 – 12  N       ค.   3.2 X 10 – 12  N         ง.   4.2 X 10 – 12  N 

9  ในการทดลองหยดน้ำมันของมิลลิแกน หยดน้ำมันมีมวล  6.4 X 10 – 14 kg  ลอยนิ่งอยู่ระหว่างแผ่นโลหะ
      สองแผ่น ซึ่งมีความต่างศักย์ 10,000 V  อยู่ห่างกัน  1  cm  จำนวนอิเล็กตรอนซึ่งแฝงอยู่ในหยดน้ำมันมี
      จำนวนเท่าไร  
ก.    4    ตัว          ข.     6   ตัว ค.     8   ตัว                          ง.    12   ตัว

10.    ในการทดลองเรื่องหยดน้ำมันของมิลลิแกน  ถ้าใช้ความต่างศักย์ไฟฟ้า  100  โวลต์  หยดน้ำมันมีมวล 
        8 X 10 -16 kg  ระยะห่างระหว่างแผ่นขั้วโลหะเท่ากับ  0.8  เซนติเมตร  ทำให้หยดนำมันอยู่นิ่ง  หยด
        น้ำมันได้รับอิเล็กตรอนกี่ตัว
          ก.   1   ตัว         ข.    2   ตัว ค.   4   ตัว ง.   8   ตัว

11.    ในการทดลองเรื่องหยดน้ำมันของมิลลิแกน  พบว่าถ้าต้องการใช้โวลต์  หยดน้ำมันซึ่งมีมวล 
        4.8 X 10 -15  kg  ลอยนิ่งอยู่ระหว่างแผ่นโลหะ  2  แผ่น  ซึ่งวางขนานห่างกัน  1.0  เซนติเมตร   
        ถ้าใช้ความต่างศักย์ระหว่างแผ่นโลหะ  300  โวลต์  ถ้าอิเล็กตรอนมีประจุ  1.6  X  10 -19 C   และ
         ความเร่งเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกเท่ากับ  10  m/s2  หยดน้ำมันนี้จะมีอิเล็กตรอนเกาะอยู่กี่ตัว
          ก.   1   ตัว         ข.    10   ตัว ค.   100   ตัว ง.   1,000   ตัว

12.   ในการทดลองของมิลลิแกน  เมื่อทำให้หยดน้ำมันมวล  1.6 X  10 -14 kg  ลอยหยุดนิ่งระหว่างแผ่นโลหะ
        ขนานซึ่งวางห่างกัน  1  ซม.  โดยแผ่นบนมีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าแผ่นล่างเท่ากับ  392  โวลต์    ถ้าความเร่ง
        เนื่องจากแรงดึงดูดของโลกเท่ากับ  9.8  m/s2   และอิเล็กตรอนมีประจุ  1.6  X  10 -19 C  จงคำนวณหาว่า
        หยดน้ำมันนี้มีอิเล็กตรอนอิสระแฝงอยู่กี่ตัว
         ก.   25   ตัว         ข.    50   ตัว ค.   250   ตัว ง.   500   ตัว

13.  หยดน้ำมันมีมวล  1.92 x 10 -30  กิโลกรัม  และมีจำนวนอิเล็กตรอนอิสระอยู่จำนวนหนึ่งลอยนิ่งอยู่ระหว่างแผ่น ตัวนำขนาดที่มีสนามไฟฟ้าความเข้ม  6 x 10 -14  นิวตัน/คูลอมบ์  ทิศแนวดิ่ง  มีอิเล็กตรอนอิสระกี่ตัวอยู่บนหยด น้ำมันดังกล่าว  กำหนดประจุอิเล็กตรอนเป็น  -1.6  X  10 -19  คูลอมบ์
          ก.   250   ตัว ข.   500   ตัว ค.   1,000   ตัว ง.   2,000   ตัว    
14.  ในการทดลองเรื่องหยดน้ำมันของมิลลิแกนนั้น  พบว่าเมื่อเพิ่มค่าความต่างศักย์จนถึงค่าสูงสุดของเครื่องมือ แล้วไม่สามารถทำให้หยดน้ำมันหยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่ในทิศตรงข้ามกับเมื่อยังไม่ให้ค่าความต่างศักย์แสดงว่า
          ก.  หยดน้ำมันมีประจุชนิดที่ทำให้แรงเนื่องจากสนามไฟฟ้ามีทิศทางเดียวกับแรงโน้มถ่วงของโลก
ข.  สนามไฟฟ้ามีค่าน้อยเกินไป
ค.  หยดน้ำมันมีมวลมากเกินไป
ง.   ถูกทุกข้อ

15.  ในการทดลองหยดน้ำมันของมิลลิแกน  ปรากฏว่า  เมื่อยังไม่ใส่สนามไฟฟ้าเข้าไป  หยดน้ำมันจะตกลง
        ด้วยความเร็วคงที่ค่าหนึ่ง  เมื่อใส่สนามไฟฟ้าเข้าไปเพื่อจะให้หยดน้ำมันลอยนิ่งอยู่กับที่กลับปรากฏว่า
        หยดน้ำมันกลับตกลงด้วยความเร็วสูงกว่าเดิม  เหตุผลต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
ก.   หยดน้ำมันมีประจุลบ             ข.   ความเข้มของสนามไฟฟ้าต่ำเกินไป
          ค.   ความเข้มของสนามไฟฟ้าสูงเกินไป            ง.   ทิศทางของสนามไฟฟ้าสลับกันกับที่ควรจะเป็น 

16.   การที่รัทเธอร์ฟอร์ด ทำการทดลองยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำบาง แล้วพบว่าโครงสร้างของ
       อะตอมไม่เป็นไปตามแบบของทอมสัน เนื่องจากรัทเธอร์ฟอร์ด พบว่า
        ก.  อนุภาคแอลฟาเบนไปจากแนวเดิมทุกทิศทางเท่า ๆ กัน
        ข.  อนุภาคแอลฟาทั้งหมดวิ่งทะลุผ่านแผ่นทองคำไปในแนวเกือบเป็นเส้นตรง
        ค.  อนุภาคแอลฟาบางส่วนเบนไปจากแนวเดิมเป็นมุมใด ๆ ทั้งที่ส่วนใหญ่ผ่านไปในแนวตรง
        ง.  อนุภาคแอลฟาเกือบทั้งหมดเบนไปจากแนวเดิมเป็นมุมใด ๆ และบางที่มีการสะท้อนกลับ

17.  อนุภาคพลังงานจลน์เท่ากันในข้อใดที่วิ่งเข้าใกล้นิวเคลียสของยูเรเนียมแล้วมีโอกาสเบี่ยงเบนไปจาก
      แนวเดิมน้อยที่สุด 
      ก.  โปรตอน ข.  แอลฟา ค.  อิเล็กตรอน ง.  นิวตรอน       

18.    ในการทดลองยิงอนุภาคแอลฟาผ่านแผ่นทองคำบาง ๆ ของรัทเธอร์ฟอร์ด ข้อใดที่แสดงว่า นิวเคลียส
        ของอะตอมมีขนาดเล็ก และมีประจุบวกทั้งหมดรวมกันอยู่
         ก.  จำนวนอนุภาคที่ย้อนกลับมีมาก
         ข.  อนุภาคแอลฟาส่วนใหญ่ผ่านไปตรง ๆ 
         ค.  จำนวนอนุภาคแอลฟาที่เบนเป็นมุมโตมีมาก
         ง.  อนุภาคแอลฟาบางตัวเบนไปถึง  90 องศา หรือมากกว่า  
     
  19.  ถ้ายิงอนุภาคแอลฟาเข้าไปในนิวเคลียสของโลหะ  ทางเดินของอนุภาคแอลฟาที่เป็นไปได้คือ
       ก.  ก  และ  ง  เท่านั้น                           
       ข.  ข  และ  ค  เท่านั้น
       ค.  ก , ค  และ  ง  เท่านั้น
       ง.  ก , ข , ค  และ  ง      

20.  เมื่ออนุภาคแอลฟาวิ่งตรงเข้าสู่นิวเคลียส  อนุภาคแอลฟานั้นจะหยุดก็ต่อเมื่ออนุภาคนั้น
       ก.  มีพลังงานรวมเป็นศูนย์ ข.  กระทบผิวนิวเคลียส
       ค.  กระทบกับอิเล็กตรอนในชั้นใดชั้นหนึ่ง ง.  มีพลังงานศักย์เท่ากับพลังงานจลน์เดิม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น